Sunday, June 25, 2017

BOY AND THE WORLD

CITIZEN KANE (1941, Orson Welles, A+30)

--เพิ่งได้ดูที่ Bangkok Screening Room มันก็ดีนะ แต่แน่นอนว่าส่วนใหญ่แล้วหนังที่ดีขึ้นหิ้งหลายๆเรื่องมักจะไม่โดนเราเป็นการส่วนตัวมากนัก 555 ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเราไม่เคยเรียนด้านภาพยนตร์มาด้วยแหละ เราก็เลยไม่รู้ว่าการถ่ายภาพในแต่ละฉากของหนังเรื่องนี้มันช่วยสร้างคุณูปการให้กับวงการภาพยนตร์อย่างไรบ้าง เหมือนเวลาดูหนังเรื่องนี้เราจะมุ่งความสนใจไปที่การถ่ายภาพชัดลึกในแต่ละฉาก คล้ายๆกับเวลาเราดู paintings เมื่อหลายร้อยปีก่อนแล้วมุ่งความสนใจไปที่เทคนิคการสร้างความลึกให้กับภาพ paintings นั้นๆ หรือการจัดองค์ประกอบภาพของ paintings นั้นๆ

--จริงๆแล้วอยากให้ Orson Welles ทำหนังสยองขวัญนะ เราว่าการถ่ายภาพของเขามันพัฒนาไปทางหนังสยองขวัญได้สบายมาก

--มีบางจุดในตัวละคร Charles Foster Kane ที่ทำให้นึกถึงพระเอกของ COSMOPOLIS (2012, David Cronenberg) เพราะสิ่งที่พระเอกของ COSMOPOLIS ต้องการมากที่สุดคือการกลับไปตัดผมที่ร้านตัดผมที่คุ้นเคยในวัยเด็ก (ถ้าจำไม่ผิด) มันเป็นตัวละครคนรวยที่ไม่มีใครรักจริง และดูเหมือนจะไม่รักใครจริง และโหยหาอะไรบางอย่างในวัยเด็กคล้ายๆกัน

--สรุปว่าในบรรดาหนังของ Orson Welles เราก็ยังคงชอบ F FOR FAKE (1973) มากที่สุดตามเดิม

--ในบรรดา 10 อันดับหนังยอดเยี่ยมตลอดกาลของ Sight and Sound นั้น เรายังไม่ได้ดู TOKYO STORY กับ 2001: A SPACE ODYSSEY ส่วนที่เหลืออีก 8 เรื่องนั้น เราเรียงตามความชอบส่วนตัวได้ดังนี้

1. THE PASSION OF JOAN OF ARC (1927, Carl Dreyer)
2. SUNRISE: A SONG OF TWO HUMANS (1927, F. W. Murnau)
3. MAN WITH A MOVIE CAMERA (1929, Dziga Vertov)
4. 8 1/2 (1963, Federico Fellini) จริงๆแล้วของ Fellini เราชอบ JULIET OF THE SPIRITS (1965) มากที่สุด
5. RULE OF THE GAME (1939, Jean Renoir)
6. CITIZEN KANE
7. VERTIGO (1958, Alfred Hitchcock) จริงๆแล้วของ Hitchcock เราชอบ THE LADY VANISHES (1938) มากที่สุด
8. THE SEARCHERS (1956, John Ford)

--ถ้าให้เราโหวตเลือกหนังยุคเก่าจริงๆ เราคงโหวต THE BLOOD OF A POET (1932, Jean Cocteau) อันนี้นี่แหละที่โดนเราอย่างรุนแรง

T2 TRAINSPOTTING (2017, Danny Boyle, UK, A+10)

--ชอบฉากที่ Renton พูดอันนี้มากๆ คือฉากนี้ชอบระดับ A+30 เลย
'Choose life'. 'Choose life' was a well meaning slogan from a 1980's anti-drug campaign and we used to add things to it, so I might say for example, choose... designer lingerie, in the vain hope of kicking some life back into a dead relationship. Choose handbags, choose high-heeled shoes, cashmere and silk, to make yourself feel what passes for happy. Choose an iPhone made in China by a woman who jumped out of a window and stick it in the pocket of your jacket fresh from a South-Asian Firetrap. Choose Facebook, Twitter, Snapchat, Instagram and a thousand others ways to spew your bile across people you've never met. Choose updating your profile, tell the world what you had for breakfast and hope that someone, somewhere cares. Choose looking up old flames, desperate to believe that you don't look as bad as they do. Choose live-blogging, from your first wank 'til your last breath; human interaction reduced to nothing more than data. Choose ten things you never knew about celebrities who've had surgery. Choose screaming about abortion. Choose rape jokes, slut-shaming, revenge porn and an endless tide of depressing misogyny. Choose 9/11 never happened, and if it did, it was the Jews. Choose a zero-hour contract and a two-hour journey to work. And choose the same for your kids, only worse, and maybe tell yourself that it's better that they never happened. And then sit back and smother the pain with an unknown dose of an unknown drug made in somebody's fucking kitchen. Choose unfulfilled promise and wishing you'd done it all differently. Choose never learning from your own mistakes. Choose watching history repeat itself. Choose the slow reconciliation towards what you can get, rather than what you always hoped for. Settle for less and keep a brave face on it. Choose disappointment and choose losing the ones you love, then as they fall from view, a piece of you dies with them until you can see that one day in the future, piece by piece, they will all be gone and there'll be nothing left of you to call alive or dead. Choose your future, Veronika. Choose life.

--ชอบที่ Spud (Ewen Bremner) เหมือนกลายเป็นพระเอกอีกคนของเรื่อง

--แต่ก็ชอบในระดับแค่ A+10 นะ คือมันดูเพลินๆ แต่เราว่าตัวละครมันดู “โง่” เกินไปจนน่ารำคาญน่ะ หรือโง่เกินไปจนเราไม่อิน ถ้าเทียบกับหนังภาคต่ออย่าง BRIDGET JONES’S BABY (2016, Sharon Maguire) แล้ว เราชอบ BRIDGET JONES มากกว่า เราว่าตัวละครในภาคต่อของบริดเจ็ต โจนส์ดูเป็นมนุษย์กว่า ในขณะที่ตัวละครใน T2 ดูเหมือนมาเพื่อสร้างสถานการณ์เท่ๆ มากไปหน่อย

--มีบางจุดที่ทำให้นึกถึงละครทีวีฮ่องกงเรื่อง ศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย ที่นำแสดงโดยหลินจุ้นเสียน, เซียะหนิง กับเฉินหมิ่นเอ๋อ 555 คือในศักดิ์ศรีลูกผู้ชายนั้น พระเอกแก้ปัญหาชีวิตด้วยการเดินทางไปต่างประเทศนานหลายปี และพอเขากลับมาฮ่องกงอีกครั้ง เขาก็พบว่าเฉินหมิ่นเอ๋อมีผัวที่ดี มีชีวิตที่ดีไปแล้ว

เราว่าพล็อต “การจากไป และการกลับมา” ของพระเอกในศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย มันเศร้าสะเทือนใจเรามากๆ แต่ใน T2 นั้น หนังไม่ได้ทำให้เรารู้สึกเศร้าหรือสะเทือนใจอะไรกับช่วง 20 ปีที่หายไปน่ะ มันเหมือนกับว่าช่วง 20 ปีที่ผ่านมามันไม่เกิดขึ้นจริงยังไงไม่รู้ มันเหมือนกับตัวละครแค่เปลี่ยนแปลงไปแค่สภาพร่างกาย แต่พวกเขาไม่ได้ใช้ชีวิตผ่านช่วง 20 ปีที่ผ่านมานี้จริงๆ

BOY AND THE WORLD (2012, Alê Abreu, Brazil, animation, 80min, A+30)

Easily one of the most beautiful animations I have ever seen.

แค่ฉากเปิดเราก็รู้แล้วว่า หนังเรื่องนี้เข้าทางเราแน่ๆ เพราะฉากเปิดเป็นภาพเรขาคณิตสวยๆประมาณ 5 นาที โดยไม่มีเนื้อเรื่องอะไรทั้งสิ้น


จริงๆแล้วประเด็นของหนังสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นหนังแย่ได้ง่ายมากนะ เพราะมันเป็นหนังอนุรักษ์ธรรมชาติ ต่อต้านทุนนิยม แต่หนังมันทำออกมาได้สุดฝีมือมากน่ะ ดูแล้วแทบร้องไห้

Thursday, June 15, 2017

IF A IS NOT SUBSET OF B

FILMS SEEN TODAY IN ICT SILPAKORN FESTIVAL

1.ถ้า A ไม่เป็นสับเซตของ B (ชุติมันต์ คงถิ่นฐาน, A+30)
ชอบความเดือดของตัวละครมากๆ สะใจ

2.CTRL+N (ธนัชพร ลดาวัลย์ ณ อยุธยา, A+25)
รู้สึกว่าจริงๆแล้วหนังยังไม่ค่อยทรงพลังเท่าไหร่ เหมือนเนื้อเรื่องของมันมีพลังงานศักย์อยู่เยอะ แต่หนังยังถ่ายทอดมันออกมาเป็นพลังงานจลน์ไม่ได้ อย่างไรก็ดี เนื้อเรื่องของหนังมันตอบสนอง sexual fantasy ของเราอย่างรุนแรงมากๆ คือถ้าถามว่าหนังเรื่องนี้ดีมั้ย เราก็ไม่แน่ใจ แต่มันจี้จุดราคะและโทสะในตัวเราได้ตรงจุดพอดี เราก็เลยฟินกับบางส่วนของมัน

3.SALMON (ภทรวรรณ หันชะนา, A+20)
รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ลงตัวกว่า CTRL+N เยอะ เหมือนผู้กำกับรู้ว่าจะทำหนัง genre ไหนและทำมันอย่างมั่นใจไปเลย เพียงแต่ว่า เราชอบ genre “gay incest” แบบ CTRL+N มากกว่า genre ใสๆแบบ SALMON เราก็เลยชอบ CTRL+N มากกว่าเรื่องนี้ 555

4.ภาพยนตร์สั้นของคุณอัครเดช (พรลภัส เอกรังษี, A+15)

5.WELCOME (ทิพย์สุดา จันทะพรม, A+10)

6.สัญญาของนาข้าว (สุดฤทธิ์ สุดประเสริฐ, A+10)

7.ประโยคสุดท้าย (วสวัตติ์ รัตนสุวรรณ, A+5)
เหมือนหนังไปโฟกัสตรงจุดที่เราไม่อิน 555 คือจริงๆแล้วหนังเรื่องนี้มีองค์ประกอบบางอย่างที่เข้าทางเรามากๆ นั่นก็คือตัวละครที่ฆ่าตัวตาย คือถ้าหากหนังเรื่องนี้เน้นโฟกัสไปที่ชีวิต+อารมณ์ความรู้สึกของตัวละครตัวนี้ และทำมันออกมาได้ดีจริงๆ และทำมันออกมายาวๆสัก 30 นาที เราคงชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆไปเลย แต่หนังเรื่องนี้กลับเลือกไปทำเป็นแนว mystery แทน เหมือนต้องการให้คนดูลุ้นว่าจริงๆแล้ววันนั้นตัวละครมันพูดอะไรกัน ซึ่งมันเป็น mystery แบบที่ไม่ค่อยโดนเราเลยน่ะ และพอมันไปเน้น mystery แบบนี้ ตัวละครที่เข้าทางเรา ก็เลยไม่ได้รับการนำเสนอมากเท่าที่ควร เหมือนเราได้รับรู้ความทุกข์ของมันผ่านทางคำพูดแค่ไม่กี่ประโยค แล้วมันก็ฆ่าตัวตายไปเลย เราก็เลยเสียดาย เราอยากให้หนังมันขุดคุ้ยตีแผ่ความทุกข์แสนสาหัสในใจตัวละครตัวนี้ออกมาน่ะ สรุปว่าหนังเรื่องนี้มันไปทาง plot-driven แต่เราชอบตัวละครตัวนั้นในหนังมากๆ และอยากให้หนังเรื่องนี้มันออกมาเป็นแนว character-driven มากกว่า


ส่วน COLOR OF BLOOD เราหลับๆตื่นๆตอนดู เสียดายมากๆ มันไม่ใช่ความผิดของหนังนะ ร่างกายเราไม่พร้อมเอง 

Wednesday, June 14, 2017

EXIT (2016, David King, Australia, 27min, A+30)

EXIT (2016, David King, Australia, 27min, A+30)

1.EXIT is a really thought-provoking film for me. I have watched it four times and still don’t understand it. Hahaha. It’s like watching a film by Jean-Luc Godard or Alexander Kluge. Such films like these are beyond my understanding, but I like them very much, because this kind of films always give me many interesting ideas, and I think it doesn’t matter at all whether the directors intend to inspire those ideas in the viewers or not.  It can be compared like this: an ordinary film wants to give the messages A, B, C to the viewers, so the film tells them directly or a little bit indirectly, and most viewers may get the messages A, B, C at the end. But for a film by Godard or Kluge, the director may want to say the message A, B, C in the film, but directors like these want to make the viewers think, rather than passively listening or watching, so in the end some viewers might think about A, E, F, K, H, I, and some other viewers might think about B, M, N, O, P. And I always prefer the second group of films to the first group. The second group provoke us to think or allow us to think freely, and “being provoked to think” always bring me a great satisfaction.

As for EXIT, I think it provokes me to think about two things in general: what exactly happens in the film, and which ideas that I get from the film.

2.As for the question “what exactly happens in the film?”, I can’t answer it at all, but at least I get a lot of pleasure trying to understand it or decipher it. I’m not sure what Y is.  He seems to live in a paradise, a dream world, or  a perfect world created by cyberspace, but the paradise is interrupted from time to time by the nightmares, which come in form of a memory of riots, and the paradise is also interrupted by a message from his agent who tells Y to finish his writing quickly, and a message from his dead wife who tells him everything is a lie, and the only way to get to reality is to commit suicide. Y seeks help from a psychiatrist, but it leads nowhere. The dead wife also makes Y think about the riots, and the 100,000 people who were chosen to be sent to the outer space to escape this dying planet.  

In the end I’m not sure who Y is. Is he a guy who is too addicted to the cyberspace and loses all communications with real people and the reality? Is he one of the guys who were sent to the outer space? Is he an inmate in an asylum? Is he just a guy who faces existential crisis and is confronting with the demon inside himself who tells him to commit suicide? Or is he just a writer who writes about all these things?

There are also many interesting things in the film which I’m not sure what they really are. For example: what is the connection between the dance club scenes and other scenes in the story? What is the meaning of the scene in which Y finds many things lying on the grass and a teenage girl?

Somehow the complexity of this film reminds me of the complexity of films by Alain Robbe-Grillet, because in some films of Robbe-Grillet, we are not sure in which dimension or in which layer of the storytelling the protagonist lives in. But the difference is that while the complexity of Alain Robbe-Grillet’s films gives me so much fun and seems to be the main point of the film, the complexity of EXIT does not seem to be the main point of the film. It can be said like this: a film by Alain Robbe-Grillet is about the complexity of storytelling, but EXIT is a film about some existential ideas, and presents these ideas via complicated storytelling.

3.As for the question “which ideas do I get from the film?”, I think EXIT makes me think about many interesting things, though the director might not intend to say them at all.

3.1 At first EXIT makes me think about people who become too addicted to the cyberspace, the internet, Facebook, etc. But I guess the director does not intend to say this thing. I think about it just because some scenes in the film fit this topic. The film talks about the paradise, the nightmares which interrupt the paradise, the return to reality, and the lack of communication with the real world. But there are many other scenes in the film which do not correspond to this topic. So I think the film might intend to say something which is bigger than the addiction to the cyberspace. But if I focus only on a few scenes in the film, these scenes unintentionally make me think about how some people lose touch with reality, because they spend too much time on the internet and Facebook. The internet becomes a paradise for them. They can find what they like and spending all their time with it. They can keep away from things they find unpleasant on the internet, though these unpleasant things may interrupt their paradise from time to time. To exit from this problem is to unplug ourselves from the internet and start to connect with people in the real world again. This topic is a little bit similar to the one in UNTIL THE END OF THE WORLD (1991, Wim Wenders).

3.2 The film also makes me think about some truths about life. Some people might live like Y in a way—living in a world of happiness or a paradise. And they can live like that by rejecting to think about real problems in our world, including social problems (the riots), and environmental problems (the dying planet). They must lie to themselves all the time that these problems are not worth thinking about. If they believe this lie, they can live in a kind of false paradise.

3.3 Most interestingly, EXIT makes me think about some existential/philosophical/religious problems: Are we living in a world of lie? What if the religions lie to us? Who can know for sure what will happen after we die? As for me, I was raised in a Buddhist culture. So I was told that after we die, we may go to heaven or hell and will be reborn again. But who can know for sure if these teachings are correct, or are truer than what other religions tell us. But if I discard these teachings, how can I find the truth by myself? Only by committing suicide, or dying by any other means will let me know the truth about the afterlife. So what the dead wife says in EXIT unintentionally makes me think about the demon inside ourselves—the demon who arouses us to doubt some religious teachings or urges us to commit suicide. And this demon is very powerful, because what the demon says is very logical in a way. I mean logic sometimes is the opposite of some religious teachings.

Then how can I find inner peace while still having doubts about the afterlife or about some religious teachings? Maybe I have to lie to myself in order to find inner peace. In Buddhist teaching, there is a concept of AJINTAI, or some topics which ordinary people shouldn’t think about, or else they will go insane. Ajintai consists of some topics which are not relevant here. But I have applied the concept of Ajintai to myself in order to keep my own sanity for many years. I have found that thinking about some topics too much can make me go insane, such as what is the birth of the universe? Where do we go after we die? How can we prove the truths in religious teachings?  Is committing suicide really a sin? Etc. So whenever I start thinking about these topics, I stop thinking about it, or else I will go insane. These topics are my own personal Ajintai. But I always like films which dare to venture into this kind of topics. And EXIT seems to be one of that, or at least it is a rare film which unintentionally provokes me to think about some of my own forbidden subjects.


4.If I have to screen EXIT with other films, I will choose to screen it together with REALTIME (1983, Hellmuth Costard, Jürgen Ebert, West Germany, 110min) and DREAMTRIPS (1999, Kal Ng, Hong Kong), because all these great films present a mesmerizing cyberworld, are very thought-provoking , and ask some existential questions. Most importantly, I don’t understand REALTIME and DREAMTRIPS at all, like EXIT. Hahaha

Sunday, June 11, 2017

SCREEN GREEN (2015, Ho Rui An, Singapore, video installation, A+30)

SCREEN GREEN (2015, Ho Rui An, Singapore, video installation, A+30)

ดูที่ชั้น 8 BACC หนักมากๆ ติดอันดับประจำปีแน่นอน ดูแล้วนึกถึง Harun Farocki มากๆในแง่การวิเคราะห์ images โดยตัววิดีโอนี้จะเน้นวิเคราะห์ “ไม้ประดับ” ที่ถูกนำมาใช้เป็นฉากหลังของ ลีเซียนหลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ในงานแถลงข่าวต่างๆ และโยงเข้ากับ “กระถางต้นไม้” ที่ชอบถูกนำมาใช้ประกอบฉากเวลามีการเผยแพร่คลิปสัมภาษณ์นักโทษการเมือง เพื่อที่ผู้ชมจะได้รู้สึกว่านักโทษการเมืองให้สัมภาษณ์อย่างสบายๆ ชิลๆ ทั้งที่จริงๆแล้วนักโทษการเมืองถูกบีบบังคับอยู่ และวิดีโอนี้ยังโยงไปถึงการใช้ป่าในหนังเรื่อง LOUISIANA STORY (1948, Robert Flaherty) และ LA COLLECTIONEUSE (1967, Eric Rohmer) ด้วย คือการพูดถึงการปลูกต้นไม้ของลีกวนยูเมื่อหลายสิบปีก่อน แล้วประเด็นสามารถเชื่อมโยงไปเรื่อยๆจนถึง Eric Rohmer ได้นี่ เป็นอะไรที่กราบมากๆ


AMERICAN BOYFRIEND: THE OCEAN VIEW RESORT (2013, Miyagi Futoshi, Japan, video installation, 20min, A+30)

AMERICAN BOYFRIEND: THE OCEAN VIEW RESORT (2013, Miyagi Futoshi, Japan, video installation, 20min, A+30)

ดูที่ชั้น 8 BACC ดูแล้วร้องห่มร้องไห้ มีสิทธิติดอันดับประจำปี มันซึ้งมากๆเลยสำหรับเรา มันมีความคล้ายคลึงกับ Marguerite Duras ในหลายๆจุดด้วย 

วิดีโอมันถ่ายภาพชายหาดโล่งๆและวิวโล่งๆเกือบตลอดทั้งเรื่อง คือภาพในหนังมันเหมือน AGATHA AND THE UNLIMITED READINGS (1981, Marguerite Duras) ส่วนเสียงบรรยายเล่าถึงเรื่องความสัมพันธ์แบบโฮโมอีโรติกของชายหนุ่มสองคู่ คู่หนึ่งคือตัวเจ้าของเสียงบรรยายกับชายหนุ่มชื่อวายบนเกาะโอกินาวา คือเจ้าของเสียง voice over แอบชอบวายตั้งแต่เด็ก แต่ไม่กล้าบอกวาย เวลาเขานั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ที่วายขับ เขาก็พยายามไม่แตะตัววาย แต่วายก็บอกเขาว่า “เวลานั่งรถผ่านตรงจุดนี้ ให้หลับตานะ เพราะจุดนี้มีผี ทหารญี่ปุ่นเคยฆ่าคนตายเยอะมากตรงจุดนี้ เพราะฉะนั้นให้หลับตา แล้วเอามือโอบเอวเราไว้”

ส่วนความสัมพันธ์อีกคู่หนึ่งคือปู่ของใครสักคนกับทหารหนุ่มอเมริกัน ปู่เคยถูกจับเข้าค่ายกักกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองบนเกาะโอกินาวา แต่ปู่ก็ชอบไปคุยกับทหารอเมริกันหนุ่มคนนึง และขอให้ทหารอเมริกันหนุ่มคนนั้นพาปู่ไปอยู่อเมริกาด้วย แต่ทหารอเมริกันคนนั้นก็ไม่ได้พาปู่ไป ปู่อยู่บนเกาะมาอีกหลายสิบปี และเก็บภาพถ่ายกับแผ่นเสียงเพลงโปรดของทหารอเมริกันคนนั้นเอาไว้ ก่อนปู่จะสิ้นใจตายเพราะถึงอายุขัย ปู่ก็ยังคงคิดถึงเสียงเพลงโปรดของทหารอเมริกันคนนั้นอยู่

และความสัมพันธ์ของชายหนุ่ม 4 คน หรือสองคู่นี้ ก็ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันผ่านวิวทิวทัศน์ของเกาะ, ภาพถ่ายที่ถูกฉีก, แผ่นเสียง และเพลงคลาสสิค

มันทำให้นึกถึง Marguerite Duras โดยไม่ได้ตั้งใจในหลายๆแง่มุม อย่างเช่น

1.การเน้นภาพวิวโล่งๆ
2.การใช้ภาพวิวโล่งๆ+ เสียง voice over
3.ประเด็นเรื่องการสังหารหมู่และบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้นึกถึง HIROSHIMA MON AMOUR
4.ประเด็นเรื่องหนุ่มอเมริกันกับหนุ่มญี่ปุ่นบนเกาะโอกินาวา ทำให้นึกถึงความสัมพันธ์ข้ามเชื้อชาติแบบใน THE LOVER



WHAT WE TALK ABOUT WHEN WE DON’T TALK ABOUT THE ELEPHANT IN THE ROOM (2017, Wichaya Artamat, stage play, A+30)

WHAT WE TALK ABOUT WHEN WE DON’T TALK ABOUT THE ELEPHANT IN THE ROOM (2017, Wichaya Artamat, stage play, A+30)
ไม่มีอะไรจะพูด

1.ตอนดูจะนึกถึงหนังเรื่อง THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE (1972, Luis Buñuel) ในแง่

1.1 ความประหลาด การสร้างโลกเซอร์เรียลหรือแฟนตาซีขึ้นมา มันเป็นโลกที่มียักษ์และมีหอยสุมอย และนอกจากมันจะทำให้นึกถึงหนังของบุนเยลแล้ว มันยังทำให้นึกถึงหนังอย่าง THE LOBSTER (2015, Yorgos Lanthimos) ในแง่การสร้างโลกที่มีกฎเกณฑ์ประหลาดๆขึ้นมาด้วย

เราว่าความเป็นบุนเยลนี่มันเข้ากับสังคมไทยมากๆเลยนะ เพราะมันเป็นสังคมที่ตรรกะทุกอย่างพังพินาศไปหมดแล้ว 555

1.2 การเล่าเรื่องเป็น fragments แทนที่จะเล่าเรื่องเป็น linear narrative โดยที่บาง fragments จะเชื่อมโยงกัน และบาง fragments จะดูเหมือนไม่รู้เชื่อมโยงกับส่วนอื่นๆได้ยังไง

1.3 การตีความได้บ้างไม่ได้บ้าง

1.4 ความเป็นอิสระในระดับหนึ่งจาก “ประเด็น”  ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดที่เราชอบที่สุด เพราะหนังอย่าง THE DISCREET CHARM นั้น เราดูแล้วเราก็ตีความไม่ได้ทุกฉาก บอกไม่ได้ว่าหนังมันพูดประเด็นเดียวหรือหลายประเด็น แต่เราชอบอะไรแบบนี้น่ะ คือหนังแนวสะท้อนสังคมมันอาจจะแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มหลักๆคือ

1.4.1 หนังแนว FEVER MOUNTS AT EL PAO (1959, Luis Buñuel) ที่เล่าถึงเผด็จการกดขี่ประชาชนตรงๆไปเลย พูดถึงประเด็นเผด็จการเป็นประเด็นหลักชัดๆเน้นๆประเด็นเดียวไปเลย หรือถ้าเป็นหนังไทย ก็มีเช่น IN THE FLESH (2016, Kong Pahurak), 329 (2014, Tinnawat Chankloi), DOGMATIST (2015, Patipol Teekayuwat) ที่สร้างโลกสมมุติ, ประเทศสมมุติ หรือโลกอนาคตขึ้นมา โดยที่ประเทศสมมุตินั้นใช้ระบอบเผด็จการ

1.4.2 หนังอย่าง THE DISCREET CHARM, THE PHANTOM OF LIBERTY (1974, Luis Buñuel) และหนังหลายๆเรื่องของ Alexander Kluge ที่มันสะท้อนสังคม แต่มันดูเหมือนเปิด รูรั่ว หรือช่องว่าง เอาไว้เยอะมาก เพราะมันจะมีหลายๆฉากในหนังกลุ่มนี้ที่เราดูแล้วจะตอบไม่ได้ว่า มันโยงกับธีมหลักยังไง, มันหมายถึงอะไร มันดูเหมือนหนังกลุ่มนี้เป็นอิสระจากประเด็นของมันในระดับหนึ่งน่ะ คือแทนที่มันจะตั้งหน้าตั้งตาพูดว่าเผด็จการเลวร้ายอย่างโน้นอย่างนี้ในทุกๆฉาก หรือพูดถึงธีมหลักของมันในทุกๆฉาก  หนังกลุ่มนี้กลับใส่ฉากที่ไม่รู้ว่าคืออะไรเข้ามาเป็นระยะๆ และฉากแบบนี้มันก็เหมือนรูรั่ว, ช่องว่าง, รูให้เราได้มีอากาศหายใจ ไม่ต้องถูกกดทับหรือบีบรัดด้วยธีมหลัก, จุดกระตุ้นความคิดผู้ชม ฯลฯ

คือหนังในกลุ่ม 1.4.1 ดูเหมือนจะสะท้อนสังคมด้วยการพูด A,B,C,D,E เรียงต่อกันไปเรื่อยๆ แต่หนังในกลุ่ม 1.4.2 จะพูด A, ,ƒ,‡ B, sin, cos, tan, C,œ เรียงต่อกันไปเรื่อยๆ และโดยทั่วไปแล้วเราจะชอบหนังในกลุ่ม 1.4.2 มากกว่า เพราะมันดูแล้วเป็นอิสระดี และมันเข้ากับมุมมองของเราที่มีต่อชีวิตดี เพราะเราไม่ได้มองว่าชีวิตเรามีมิติการเมืองแค่มิติเดียว ถึงแม้ว่าการเมืองจะแทรกซึมเข้ามาในเกือบทุกมิติของชีวิตในรูปแบบต่างๆก็ตาม

คือ ไม่มีอะไรจะพูด กับ THE DISCREET CHARM ไม่ได้พูดประเด็นเดียวกัน แต่ลักษณะบางอย่างดังที่กล่าวไปข้างต้นทำให้เรานึกไปถึง THE DISCREET CHARM น่ะ และมันก็เลยทำให้เราชอบ “ไม่มีอะไรจะพูด”มากๆ เพราะเรารู้สึกว่าเราแทบไม่ค่อยเจอหนังไทยแนวสะท้อนสังคมที่ใช้โครงสร้าง/ลักษณะแบบ THE DISCREET CHARM มาก่อน (เราขอนำ “ไม่มีอะไรจะพูด” ไปเทียบกับหนังไทยที่เราเคยดูมานะ เพราะเราไม่ได้ดูละครเวทีมานาน 14 เดือนแล้ว เราก็เลยไม่สามารถนำ “ไม่มีอะไรจะพูด” ไปเทียบกับละครเวทีเรื่องอื่นๆได้)

2.ดูแล้วจะจับเนื้อเรื่องได้เป็น 3 ก้อนใหญ่ๆนะ นั่นก็คือ
2.1 เรื่องของหอยสุมอย ที่สะท้อนประเทศชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน และรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจในระดับล่างๆลงมา อย่างเช่นครูกับศิษย์
2.2 เรื่องของนางยักษ์, เมรี, รถเสน และร้านอาหารของเมรีที่ได้รับข้อกล่าวหา อันนี้เหมือนกับสะท้อนประเด็นทางสังคมในระดับนึง
2.3 เรื่องความสัมพันธ์ของเกย์ ที่ดูเหมือนจะสะท้อนความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างมนุษย์กับมนุษย์

และก็มี fragments ยิบย่อยที่เราไม่แน่ใจว่ามันคืออะไรยังไง แต่ก็ชอบมาก อย่างเช่นฉากที่ชายหนุ่มสองคนคุยกันด้วยประเด็นต่างๆ แต่ต้องทำหน้าตายิ้มแย้มเข้าหากัน และเล่นสะบัดเสื้อใส่กันตลอดเวลา, หรือเนื้อหาบางส่วนที่เราไม่รู้ว่าคืออะไร อย่างเช่น การที่สาวเสิร์ฟคนหนึ่งเห็นผี

ในส่วนของเนื้อเรื่อง 3 ก้อนนั้น เราชอบส่วนของหอยสุมอยที่สุดนะ เราว่ามันสะท้อนสังคมได้ดีมากๆ และมันทำให้น่าคิดมากๆว่า คนไทยในอีก 100 ปีข้างหน้า จะมองคนไทยแต่ละกลุ่มในปี 2017 ด้วยมุมมองอย่างไรบ้าง

เราว่าส่วนของหอยสุมอย มันสะท้อนสังคมที่เลวร้ายด้วยอารมณ์ขันได้ดีด้วยแหละ มันก็เลยแตกต่างจากหนังสะท้อนสังคมเรื่องอื่นๆของไทยที่ทำออกมาในแนวเคร่งเครียดเป็นส่วนใหญ่

คือถ้าละครเวทีเรื่องนี้มันมีแต่ส่วนของหอยสุมอยส่วนเดียว เราก็จะเทียบมันกับหนังเรื่อง THE LOBSTER นะ ในแง่การสร้างโลกวิปริตผิดเพี้ยนขึ้นมาเพื่อสะท้อนอะไรบางอย่างในโลกความเป็นจริง


แต่พอละครเวทีเรื่องนี้มีส่วนของนางเมรีและเรื่องเกย์คุยกันเข้ามาด้วย เราก็เลยนำมันไปเทียบกับ THE DISCREET CHARM และหนังของ Alexander Kluge น่ะ ในแง่ความเป็นอิสระจากประเด็น คือจริงๆแล้วบางคนอาจจะตีความเรื่องของเมรีและเกย์ให้โยงเข้ากับธีมหลักในหอยสุมอยก็ได้นะ แต่เราขี้เกียจคิดเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน เราขี้เกียจตีความ และเราชอบที่มันดูเหมือนไม่เชื่อมโยงกันง่ายๆแบบนี้นี่แหละ มันดูเป็นอิสระดี มันเปิดช่องว่างให้เราได้หายใจหายคอดี มันคือความสุขแบบเดียวกับที่เราได้รับจาก Luis Buñuel และ Alexander Kluge

Wednesday, June 07, 2017

WONDER WOMAN

WONDER WOMAN (2017, Patty Jenkins, A+20)

 ตอนดูจะนึกถึงหนึ่งในหนังที่เราชอบมากที่สุดในชีวิต ซึ่งก็คือ GOLDEN SWALLOW โอม สู้แล้วอย่าห้าม (1987, O Sing-Piu) ในแง่ที่ว่า หนังทั้งสองเรื่องมันตั่งคำถามถึง essence of mankind ว่า ดี หรือ ชั่ว และ mankind มัน redeemable หรือไม่ และเราชอบที่ตัวร้ายใน WONDER WOMAN มัน "ใกล้เคียง" กับความรู้สึกเกลียดชังมนุษย์ในใจเรา ซึ่งมันแตกต่างจากหนัง superhero บางเรื่องที่ตัวร้ายอยากครองโลก เพราะตัวร้ายประเภทนั้นมันไม่ได้ใกล้เคียงกับเราเลย เพราะกูไม่ได้อยากครองโลก กูแค่เกลียดชังมนุษย์ในบางเวลา และมองว่าธรรมชาติของมนุษย์มันเลวในบางเวลา เราก็เลยค่อนข้างประทับใจกับประเด็นของหนัง มันเหมือนกับความขัดแย้งในใจเราที่ใจหนึ่งก็เกลียดชังมนุษย์ แต่อีกใจหนึ่งก็อยากมีผัว

ในแง่หนึ่ง WONDER WOMAN ก็เลยเหมือนเป็นเหรียญอีกด้านของ โอม สู้แล้วอย่าห้าม เพราะโอมฯ เล่าเรื่องความรักของมนุษย์หนุ่มกับ "อมนุษย์หญิง" เหมือนกัน แต่อมนุษย์หญิงตัวนี้ ถูกปลูกฝังมานานแล้วว่า "มนุษย์เต็มไปด้วยความชั่วร้าย เห็นแก่ตัว ละโมบ" คือเธอเหมือนถูกปลูกฝังให้เชื่อในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับนางเอกของ WONDER WOMAN แต่ความเงี่ยนผู้ชายก็ทำให้เธอเริ่มเปลี่ยนใจ และเริ่มยอมรับมนุษย์ได้มากขึ้น

แน่นอนว่า เราชอบ โอม สู้แล้วอย่าห้าม มากกว่า WONDER WOMAN หลายเท่า เพราะนางเอกของโอมฯ ไม่ได้มีความเป็น hero ใดๆ เธอลุกขึ้นสู้กับปีศาจร้ายเพื่อปกป้องผัวรักของเธอเท่านั้นเอง ในแง่นี้ โอม สู้แล้วอย่าห้าม ก็เลยกลายเป็นหนึ่งในหนังที่ทำให้เรารู้สึกอินมากที่สุดในชีวิต ส่วน WONDER WOMAN นั้น เราโอเคกับการกำกับมากๆ ชอบการโพสท่าสวยๆในหนังเรื่องนี้ และก็ชอบมันมากกว่าหนังอย่าง SUPERGIRL (1984, Jeannot Szwarc) และ CATWOMAN (2004, Pitof) แต่เราก็ไม่อินกับพลังแห่งความดีงามและความรักในหนังเรื่องนี้ และก็แน่นอนว่าเราชอบ "สวยประหาร" (1992, Johnnie To) มากกว่าเรื่องนี้ประมาณ 100 เท่าอยู่ดี

--เห็นด้วยอย่างสุดๆกับน้องกีวี่ที่ว่า "สิ่งที่ Aries พูดนั้นเข้าท่าและน่าคิด" และนั่นแหละคือจุดที่เราชอบมากที่สุดใน WONDER WOMAN (2017, Patty Jenkins) คือเรารู้สึกเหมือนกับว่า จริงๆแล้วที่หนังต้องจบด้วยพลังแห่งความรักนั้น เป็นเพราะมันถูก "บังคับ" ด้วยกรอบและกฎเกณฑ์ของหนัง superhero น่ะ แต่ความพิเศษของหนังเรื่องนี้คือการทำให้ผู้ร้ายดูเข้าท่าและน่าคิดนี่แหละ คือเรารู้สึกเหมือนกับว่า จริงๆแล้ว หนังเรื่อง MONSTER (2003, Patty Jenkins) ของผู้กำกับคนเดียวกันนั้น มันนำเสนอ Aileen Wuornos "ผู้หญิงที่มีตัวตนจริง" ที่เป็นขั้วตรงข้ามของ WONDER WOMAN เพราะหนังเรื่อง MONSTER นั้น จบลงด้วยคำพูดของนางเอกในทำนองที่วา ความเชื่อเรื่อง "LOVE CONQUERS ALL" เป็นความเชื่อที่ตอแหลสิ้นดี คือเรารู้สึกว่า Patty Jenkins เก่งสุดๆในการนำเสนอตัวละคร Aileen Wuornos และ Aries น่ะ และตัวละครทั้งสองตัวนี้ ต่างก็เป็นขั้วตรงข้ามของ Wonder Woman เหมือนๆกัน

MONSTER จบลงด้วยการที่ Aileen บอกว่า ความเชื่อดังต่อไปนี้เป็นเรื่องตอแหลสิ้นดี "Love conquers all." "Every cloud has a silver lining." "Faith can move mountains." "Love will always find a way." "Everything happens for a reason." "Where there is life, there is hope."

เรารู้สึกว่า Aileen อาจจะเคยเป็นเด็กหญิงที่มีความฝันที่บริสุทธิ์เหมือนไดอาน่าตอนเป็นเด็กก็ได้ แต่ประสบการณ์จากชีวิตจริงทำให้ Aileen กลายเป็นฆาตกรต่อเนื่อง และพบว่า LOVE CONQUERS ALL เป็นเรืองตอแหล แทนที่จะกลายเป็น superheroine ผู้เชื่อมั่นในความรักและศรัทธาแบบไดอาน่า

ชอบประโยคนี้ที่ Aileen พูดใน MONSTER มากๆ

"When I was little I thought for sure that one day, I could be a big, big star. Or maybe just beautiful... beautiful and rich, like the women on TV. Yeah, I had a lot of dreams. And I guess you can call me a real romantic, because I truly believe that one day, they'll come true. So I dreamed about it for hours. As the years went by, I learnt to stop sharing them with people. They said I was dreaming. But back then, I believed it whole heartily. So whenever I was down, I would just escape into my mind... to my other life, where I was someone else. It made me happy to think that all these people just didn't know yet who I was gonna be. But one day they'll all see."

บางทีจริงๆแล้ว Aileen อาจจะไม่ได้ต้องการเป็นฆาตกรต่อเนื่องก็ได้ บางทีเธออาจจะอยากเป็นอย่างไดอาน่า แต่ "ชีวิตจริง" ไม่เปิดโอกาสให้เธอได้เป็น


--แป๊บเขียนได้งดงามมากๆ โดยส่วนตัวเราแล้ว เราไม่ได้อินกับความไร้เดียงสาของนางเอก แต่ก็ไม่ได้ต่อต้านความไร้เดียงสาของนางเอกนะ ในแง่นึงดูแล้วก็นึกถึงตัวเองในวัยเด็กน่ะ เพราะตอนเราเป็นเด็ก ถึงแม้เราจะมีปัญหาชีวิตหนักหน่วง (และไม่ได้ใฝ่ฝันว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไป) เราก็ถูกทำให้เชื่อว่า โลกมนุษย์มันจะดีขึ้นเรื่อยๆ มันจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเราเรียนม.4 และได้ดูหนังเรื่อง BETRAYED (1988, Costa-Gavras) เราถึงเพิ่งค้นพบตัวเองว่า เรามองมนุษย์ในแง่ดีเกินความเป็นจริงมาโดยตลอด จุดพลิกผันของนางเอกใน WONDER WOMAN ก็เลยทำให้นึกถึงตัวเองตอนม.4